วรรณคดีไทยและประวัติวรรณคดีไทย
วรรณคดี แปลว่าเรื่องที่แต่งเป็นหนังสือ มีความหมายตรงกันคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษ แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความของวรรณคดีว่า หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว
วรรณคดี คือ ความรู้สึกนึกคิดของกวี ซึ่งถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฎเป็นรูปหนังสือ มีถ้อยคำเหมาะเจาะเพราะพริ้ง เร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึก
วรรณคดี คือ หนังสือที่มีลักษณะเรียบเรียงถ้อยคำเกลี้ยงเกลาเพราะพริ้งมีรสปลุกมโนคติ ( imagination ) ให้เพลิดเพลิน เกิดกระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง ๆ เป็น ไปตามอารมณ์ของผู้ประพันธ์บทประพันธ์
วรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความเพลิดเพลิน ให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ( imagination ) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดีจะต้องมีรูปศิลปะ ( form ) เท่าที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่าวรรณคดี คือ เรื่องที่มีลักษณะดังนี้
๑ . ใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารไพเราะสละสลวย
๒ . ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
๓ . ยกระดับจิตใจให้สูง
๔ . ใช้เป็นแบบแผนในการแต่งได้
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร กล่าวว่า
๑ . เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องที่สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือไม่เป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสาร ซึ่งจะชวนให้คิดวุ่นวานทางการเมืองอันเกิดเป็นเรื่องรำคาญแก่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ( เพราะคนรู้น้อยอาจจะไขว้าเขวได้ )
๒ . เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใด ๆ ก็ตามแต่ต้องให้เป็นภาษาไทยอันดี ถูกต้องตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาลหรือปัจจุบันกาลก็ได้ ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ ( เช่น ใช้ว่า ไปจับรถ แทน ไปขึ้นรถ และ มาสาย แทน มาช้า ดังนี้เป็นตัวอย่าง )
ร้อยกรอง คือ บทประพันธ์ที่แต่งให้มีสัมผัสของคำเชื่อมโยงกัน โดยมีคณะของคำตามหลักที่กำหนดไว้ในฉันทลักษณ์หรือตำรากลอนต่าง ๆ เช่น มีครุ ลหุ เอก โท เป็นต้น รูปแบบของร้อยกรองวรรณคดีที่เป็นร้อยกรอง ( กาพย์กลอนของไทย ) ได้เจริญเรื่อยมา และแบ่งตามรูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้แต่งเรื่องนั้น ๆ ได้ดังนี้
๑ . คำหลวง เป็นเรื่องที่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ทรงแต่ง หรือ ทรงเกี่ยวข้องในการแต่ง ไม่จำกัดรูปแบบคำประพันธ์ แต่ต้องเป็นเรื่องที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา เท่าที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ มหาชาติคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง และพระนลคำหลวง
๒ . คำฉันท์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์ชนิดต่าง ๆ มักมีกาพย์บางชนิดปนอยู่ด้วย เช่น สมุทรโฆษคำฉั นท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นต้น
๓ . คำโคลง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นโคลงคั้นหรือโคลงสี่สุภาพ เช่น โคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น
๔ . คำกลอน วรรณคดีที่แต่งเป็นคำกลอนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กลอนสุภาพ กลอนเสภา กลอนบทละคร กลอนหก เช่น พระอภัยมณี เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น
๕ . คำกาพย์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ เช่น กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา เป็นต้น
๖ . กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงและกาพย์ เช่น กาพย์ห่อโคลงประพาศธารทองแดง กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น ๗ . ร่ายยาว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร่ายยาว เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น ๘ . ลิลิต ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งโดยใช้โคลงและร่ายปนกัน รับสัมผัสคำแบบลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้นนอกจากแบ่งตามลักษณะคำประพันธ์แล้ว ยังแบ่งตามเนื้อเรื่อง เช่น นิราศ เพลงยาว นิทานคำกาพย์ นิทานคำกลอน คำสอน เป็นต้น บทละคร คือ เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อการแสดงบนเวทีรูปแบบของบทละคร ๑ . บทละครรำ เป็นบทละครแบบเดิมของไทย ได้แก่ บทละครเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ สังข์ทอง เป็นต้น๒ . บทละครแบบตะวันตก ได้แก่ บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ บทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า บทละครคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา เป็นต้นการแบ่งประเภทวรรณคดีตามเกณฑ์ต่าง ๆ วรรณคดีไทยอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้ ๑ . สารคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญแต่ในขณะเดียวกันก็ใช้กลวิธีการเขียนให้เกิดความบันเทิงเป็นผลพลอยได้ไปด้วย เช่น บทความหรือความ เรียง หนังสือสารคดี ตำรา บันทึก จดหมายเหตุ รายงาน พงศาวดาร ตำนาน ปาฐกถา คำสอน ๒ . บันเทิงคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านมากกว่าความรู้ แต่อย่างไรก็ดี บันเทิงคดีย่อมมีเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญแทรกอยู่ด้วยในรูปของคติ ชีวิตและเกร็ดความรู้ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละครพูด นิทาน นิยายแบ่งตามลักษณะที่แต่ง แยกได้ ๒ ประเภท คือ- ร้อยแก้ว อาจแต่งเป็นสารคดีหรือบันเทิงคดี โดยมีรูปแบบต่าง ๆ- ร้อยกรอง หมายถึง ความเรียงที่ใช้ภาษาพูดตามธรรมดา แต่มีรูปแบบโดยเฉพาะและมีความไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย ร้อยกรองอาจเรียกว่าคำประพันธ์ กาพย์กลอน หรือ กวีนิพนธ์ ก็ได้ ร้อยกรองแต่เป็นกลอน โคลง ร่ายกาพย์และฉันท์ อาจแต่งเป็นสารคดีและบันเทิงคดี ส่วนมากเป็นบันเทิง คดี โดยอาจแบ่งรูปตามชนิดของคำประพันธ์ หรือลักษณะของเนื้อเรื่องแบ่งตามลักษณะการจดบันทึก แยกได้ ๒ ประเภท คือ๑ . วรรณคดีลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บันทึกไว้เป็นหนังสืออาจเป็นตัวจารึก ตัวเขียน หรือตัวพิมพ์ก็ได้๒ . วรรณคดีที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บอกเล่าจดจำสืบต่อกันมา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วรรณคดีมุขปาฐะ เช่นเพลงพื้นเมือง บทเห่กล่อม นิทานพื้นบ้าน ปริศนาคำทาย การแบ่งประเภทวรรณคดีดังกล่าวอาจคาบเกี่ยวกันได้ สารคดีโดยทั่วไปมักแต่งเป็นร้อยแก้วแต่อาจแต่งเป็นร้อยกรองก็ได้บันเทิงคดีอาจแต่งเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้
วรรณคดีไทยแบ่งสมัยการแต่งได้ดังนี้
๑ . วรรณคดีสมัยสุโขทัย ( พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๙๒๐ )
๒ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๐๗๒ )
๓ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ( ยุคทองของวรรณคดี พ.ศ. ๒๑๖๓ - ๒๒๓๑๔)
๔ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ( พ.ศ. ๒๒๙๕ - ๒๓๑๐๕ )
๕ . วรรณคดีสมัยธนบุรี ( พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕๖ )
๖ . วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. ๒๓๒๕ - ปัจจุบัน )
เนื่องจากการแต่งวรรณคดี มักจะมีส่วนสัมพันธ์กัน ประวัติศาสตร์และสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น ๆ เพราะฉะนั้นการอ่านวรรณคดีให้ได้คุณค่าอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องเรียนประวัติวรรณคดีประกอบด้วย ซึ่งต้องพิจารณาถึงประเด็นสำคัญของวรรณคดี ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑ . ผู้แต่ง รวมถึงชีวประวัติและผลงานสำคัญ
๒ . ที่มาของเรื่อง ได้แก่ เรื่องที่เป็นต้นเค้า อาจจะได้รับอิทธิพลภายในประเทศ หรือที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
๓ . ความมุ่งหมายที่แต่ง ได้แก่ ความบันดาลใจหรือความมุ่งหมายของผู้แต่งในการแต่งวรรณคดีนั้น ๆ
๔ . วิวัฒนาการและความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างวรรณคดีแต่ละสมัย
๕ . สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์ของบ้านเมืองในระยะเวลาที่แต่ง๖ . อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคมทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยต่อมาวรรณคดีสมัยสุโขทัย ( ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ - พ.ศ. ๑๙๒๐ )
ชาติไทยเริ่มมีประวัติเป็นหลักฐานชัดเจน เมื่อไทยได้ตั้งอาณาจักรขึ้น ณ ดินแดนสุวรรณภูมิและมีนครหลวงอยู่ที่เมืองสุโขทัย หลักฐานการตั้งอาณาจักรนั้นได้ปรากฏในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ และศิลาจารึกวัดศรีชุมหลักที่ ๒ ว่า มีพ่อเมืองไทย ๒ คน ชื่อพ่อขันบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด บุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถมเจ้าเมืองสุโขทัย ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชของขอม พ่อเมืองทั้งสองนี้ได้รวมกำลังกันยกทัพมาตีสุโขทัย ซึ่งมีผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ขอมสมาดโขลญลำพง รักษาอยู่ เมื่อตีได้เมืองสุโขทัยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกให้พ่อขุนบางกลางหาวเป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย มีนามตามอย่างที่ขอมเคยตั้งนามเจ้าเมืองสุโขทัยแต่ก่อนว่า ศรีอินทรปติทราทิตย์ แต่เรียนในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ นับว่ากรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครองและมีเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีชื่อนางเสือง และมีพระราชโอรสด้วยกัน ๓ พระองค์ องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมีนามว่า บานเมือง และองค์เล็กมีนามว่า พระรามคำแหง เมือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา พ่อขุนบานเมืองได้ครองราชย์อยู่จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๒๒ ก็สวรรคต พระรามคำแหงพระอนุชาจึงได้รับราชสมบัติขึ้นครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา
วรรณคดีสมัยสุโขทัย มีนิทานพื้นเมืองหรือเพลงพื้นเมือง ที่ถ่ายทอดกันมาโดยความทรงจำ เรียกกันว่า วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดีที่ใช้การเล่าถ่ายทอดกันมาไม่มีการจดบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนที่นับได้ว่าเขียนเป็นตัวอักษรก็คือศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง วรรณคดีสำคัญที่สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยสุโขทัยมี ๔ เรื่อง คือ
๑ . ศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกสุโขทัย ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
๒ . ไตรภูมิพระร่วง ( ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา )
๓ . สุภาษิตพระร่วง
๔ . คำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ( นางนพมาศ )
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๐๗๒ )
ลักษณะวรรณคดีวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรมและพระมหากษัตริย์จึงมีเนื้อหาคล้ายวรรณคดีสมัยสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้น คำประพันธ์ที่ใช้มีเกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอน ส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีสำคัญในสมัยนี้ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี
-สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ( พระเจ้าอู่ทอง ) ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ๑๘๙๓ แต่งลิลิตโองการแช่งน้ำ
-สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตีได้เมืองเชียงชื่น ( เชลียง ) ๒๐๑๗ แต่งลิลิตยวนพ่าย ( สันนิษฐาน )
-สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ฉลองวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ( ที่พิษณุโลก ) ๒๐๒๕ แต่งมหาชาติคำหลวง แต่งลิลิตพระลอ ( สันนิษฐาน )
-สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๑ แต่งโคลงทวาทศมาส ( สันนิษฐาน )
-สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชอนุชาขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๔ แต่งลิลิตยวนพ่าย ( สันนิษฐาน ) แต่งโคลงกำสรวล ( สันนิษฐาน ) แต่งลิลิตพระลอ ( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๐ แต่งโคลงหริภุญชัย ( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๑ แต่งตำราพิชัยสงคราม
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ( พ.ศ. ๒๑๖๓ - พ.ศ. ๒๒๓๑ )
กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนกลางสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี ซึ่งมีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมาย คือ
๑ . สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ. ๒๑๖๓ - ๒๑๗๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือกาพย์มหาชาติ
๒ . สมเด็จพระรานายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ
๒.๑ . สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนกลาง
๒.๒ . โคลงสุภาษิตพาลีสอนน้อง ทศรสอนพระราม ราชสวัสดิ์
๒.๓ . คำฉันท์กล่อมช้าง เข้าใจกันว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระราชนิพนธ์
๒.๔ . เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา แต่บางคนกล่าวว่าขุนหลวงสรศักดิ์ ( พระศรีสรรเพชญ์ที่ ๘ ) ทรงพระราชนิพนธ์
๓ . พระมหาราชครู หนังสือที่แต่ง คือ
๓.๑ . สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนต้น
๓.๒ . เสือโคคำฉันท์
๔ . พระโหราธิบดี หนังสือที่แต่ง คือ
๔.๑ . จินดามณี
๔.๒ . พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ
๕ . พระศรีมโหสถ หนังสือที่แต่ง คือ
๕.๑ . โคลงอักษรสามหมู่
๕.๒ . โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช
๕.๓ . กาพย์ห่อโคลง
๖ . ศรีปราชญ์ หนังสือที่แต่ง คือ
๖.๑ . อนิรุทธคำฉันท์
๖.๒ . โคลงกำสรวล
๖.๓ . โคลงเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
๗ . ขุนเทพกวี หนังสือที่แต่ง คือคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
๘. หนังสือที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง คือ
๘.๑ . ลิลิตพระลอ
๘.๒ . โคลงนิราศหริภุญชัย
ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ความเคลื่อนไหวทางวรรณคดีสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ ( พ.ศ. ๒๑๗๐ )สมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ พระเจ้าลูกยาเธอฝ่ายในสิ้นพระชนม์ พบเนื้อในพระศพเผาไม่ไหม้ เชื่อกันว่า ต้อนคุณมีการทำลายตำราไสยศาสตร์ เพราะเกรงต้องโทษ ( พ.ศ. ๒๑๗๓ ) วรรณคดีสำคัญ ๆ อาจถูกทำลายไปพร้อมกับตำราไสยศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต ๒๑๙๘ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งเสือโคคำฉันท์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระชนมายุ ครบเบญจเพส ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งสมุทรโฆษ คำฉันท์ (ตอนต้น) สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ สมุทรโฆษคำฉั นท์ ต่อจากพระมหาราชครูสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์พุทธศักราช ๒๒๐๐ ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งปัญญาสชาดก พุทธศักราช ๒๒๐๑ พระศรีมโหสถแต่งโคลงนิราศนครสวรรค์ สมเด็จพระนารายมหาราชเสด็จประพาส เมืองนครสวรรค์ทางชลมารค ( พ.ศ. ๒๒๐๑ ) ได้ช้างเผือกมาจากเมืองนครสวรรค์พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉันทันต์ ๒๒๐๓ ขุนเทพกวีแต่งฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ( สันนิษฐาน ) พระศรีมหโหสถแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระโหราธิบดีแต่งจินดามณี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้รวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ รวมถึงพระราชพงศาวดารของพระโหราธิบดี พุทธศักราช ๒๒๒๓ พระโหราธิบดีแต่งพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ศรีปราชญ์แต่งอนุรุทธ์คำฉันท์ และโคลงเบ็ดเตล็ดพระศรีโหสถแต่งกาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามหมู่
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ( พ.ศ. ๒๒๗๕ - พ.ศ. ๒๓๑๐ ) กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย
๑ . พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ งานที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
๒ . เจ้าฟ้าอภัย งานที่ทรงนิพนธ์ คือโคลงนิราศ
๓ . เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร งานที่ทรงนิพนธ์ คือ
๓.๑ นันโทปนันทสูตรคำหลวง
๓.๒ พระมาลัยคำหลวง
๓.๓ กาพย์เห่เรือ
๓.๔ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
๓.๕ กาพย์ห่อโคลงนิราศ
๓.๖ บทเห่เรื่องกากี เห่สังวาส เห่ครวญ และเพลงยาว
๔ . เจ้าฟ้ากุณฑล งานที่ทรงนิพนธ์ คือดาหลัง ( อิเหนาใหญ่ )
๕ . เจ้าฟ้ามงกุฎ งานที่ทรงนิพนธ์ คืออิเหนา ( อิเหนาเล็ก )
๖ . พระมหานาควัดท่าทราย งานที่แต่ง คือ
๖.๑ ปุณโณวาทคำฉันท์
๖.๒ โคลงนิราศพระบาท๗ . หลวงศรีปรีชา ( เซ่ง ) งานที่แต่ง คือ กลบทสิริวิบุลกิติ
วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551
วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ยีนและโครโมโซม
•เซลล์ทุกเซลล์ในสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยโครโมโซม โครโมโซมในร่างกายสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด มีจำนวนคงที่และเท่ากันเสมอ โครโมโซมของโพรคาริโอตและยูคาริโอต มีลักษณะที่แตกต่างกัน
•ในโพรคาริโอต เช่น เซลล์แบคทีเรียโครโมโซมประกอบด้วยDNAรูปวงแหวน(circular DNA)เพียงชุดเดียว เรียกว่า จีโนฟอร์(genophore) ซึ่งเป็น DNA อย่างเดียวไม่มีโปรตีนอยุ่ด้วยแบคทีเรียE. coli มีจำนวนจีนประมาณ 3,000 - 4,000 จีน ในไวรัสบางชนิด มีRNAทำหน้าที่เป็นโครโมโซม(RNA virus) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก โดยมีจีนเพียง 3 จีนเท่านั้น
•ในยูคาริโอต โครโมโซมประกอบด้วย DNA RNA และโปรตีน โดยโปรตีนมี 2 ชนิดคือ โปรตีนฮิสโทน(histone) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนประจุบวก ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสจำนวนมาก เช่น ไลซีน อาร์จีนีน ช่วยให้ DNA เกาะกับโปรตีนได้อย่างดีและติดแน่น และโปรตีน นอน-ฮิสโทน(non-histone) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดอื่นๆ จากการศึกษาเซลล์ยูคาริโอตชนิดต่างๆ พบว่า RNA และนอน-ฮิสโทน มีจำนวนน้อยและแปรผันไปตามชนิดของเซลล์ ส่วน DNA และฮิสโทนในเซลล์ทุกชนิดมีสัดส่วนค่อนข้างคงที่ คือประมาณ 1 : 1 ซึ่งแสดงว่า DNA และโปรตีนฮิสโทนมีความสำคัญมาก
นิวคลีโอโซม
นิวคลีโอโซม (nucleosome) คือโปรตีนฮิสโทนที่ผูกพันด้วย DNA 2 รอบ ทำให้มีลักษณะเหมือนลูกปัดที่ถูกร้อยด้วยเส้นด้าย (beads-on-a string) โดยเส้นด้ายคือ DNA ตัวเชื่อม( linker DNA ) ซึ่งมีความยาวไม่คงที่ เมื่อย้อมสี โครโมโซมจะพบเป็นแถบสี 2 แบบคือ 1. ยูโครมาทิน(euchromatin) เป็นแถบสีจางเรียงตัวอย่างมีระเบียบเป็นที่ตั้งของจีนจำนวนมาก ที่ทำหน้าที่2. เฮเทอโรโครมาทิน(heterochromatin) เป็นบริเวณแถบสีเข้ม เป็นที่ตั้งของจีนจำนวนน้อย และมักไม่ได้ทำหน้าที่
โครโมโซมแต่ละโครโมโซมประกอบด้วย ส่วนต่างๆคือ
1.เซนโทรเมียร์(centromere) มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ไคนีโทคอร์(kinetochore) หรือไพรมารี คอนสตริกชัน(primary constriction) เป็นตำแหน่งที่แขนทั้งสองข้างของโครโมโซมมาพบกัน ซึ่งเป็นที่อยู่ของโปรตีนชนิดพิเศษ และ DNA รวมทั้งมีสปินเดิลจำนวนมากมาเกาะอยู่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของโครโมโซมไปยังขั้วของเซลล์ ตามปกติเซนโทรเมียร์จะแบ่งตัวตามยาวในระยะแอนาเฟส แต่ถ้าหากแยกกันตามขวางจะทำให้โครโมโซมที่แยกออกจากกันผิดปกติ
•2.โครโมนีมาตา(chromonemata) ภายในโครโมโซมหรือโครมาตินโครมาทิดประกอบ ด้วยหน่วยย่อยคือ โครมานีมาตา ซึ่งลักษณะเส้นใยยาวขดตัวจำนวนมากมายซึ่งก็คือ DNA และโปรตีนนั่นเอง
•3.เมทริกซ์(matrix) เป็นส่วนที่ล้อมรอบโครโมนีมาตา มีผนังเป็นปลอก(sheath หรือ pellicle) ยังไม่ทราบหน้าที่แน่นอน แต่เป็นไปได้ว่าช่วยทำให้โครโมนีมาตารวมตัวกันเป็นโครโมโซมได้สะดวกขึ้น และช่วยห่อหุ้มจีนในขณะแบ่งเซลล์
•4.แซทเทลไลต์(satellite) คือส่วนสั้นๆที่อยู่บริเวณปลายๆของโครโมโซมเกิดจากคอดของโครโมโซมอีกตำแหน่งหนึ่ง(sacondary constriction) ใช้เป็นเครื่องหมายในการจำแนกโครโมโซมได้ การสร้างนิวคลีโอลัส(nucleolus) มักจะเกี่ยวข้องกับการคอดของโครโมโซมในตำแหน่งนี้(sacondary constriction) และเรียกบริเวณที่โครโมโซมซึ่งมีการสร้างนิวคลีโอลัสว่า นิวคลีโอลาร์ ออร์แกไนซิง ริเจียน (nucleolus organizing region , NOR)
สารพันธุกรรม
•สารพันธุกรรม เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทั้งหมดสำหรับควบคุมโครงสร้างและการทำหน้าที่ของกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยกรดนิวคลีอิกชนิดใดชนิดหนึ่งอาจเป็น DNA หรือ RNA สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีสารพันธุกรรมเป็น DNA ยกเว้นไวรัสบางชนิดเท่านั้นที่มีสารพันธุกรรมเป็น RNA
•สารพันธุกรรมมีสมบัติเป็นกรดนิวคลีอิก มีอยู่ 2 ชนิด คือ1. Deoxyribonucleic acid (ดีเอ็นเอ) พบในสิ่งมีชีวิตทั่วไป2. Ribonucleic acid (อาร์เอ็นเอ) พบในไวรัสบางชนิดเท่านั้น
•ในการศึกษาสารพันธุกรรมนั้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านศึกษาเป็นขั้นตอนดังนี้ พ.ศ. 2412 โยฮันน์ ฟรีดริช มิเชอร์ ( Johann Friedrich Miescher ) ค้นพบกรดนิวคลีอิคจากสารเคมีที่สกัดจากนิวเคลียสของเซลล์เม็อเลือดขาว ต่อมาพบว่า กรดนิวคลีอิค มี 2 ชนิด คือ DNA และ RNA ในนิวเคลียสมีสารที่มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ
•พ.ศ. 2414-2415 รอเบิร์ต ฟลูเกน
•( Robert Feulgen ) ใช้สีฟุลซินย้อมเซลล์และพบว่าสารที่ย้อมติดสี คือ DNAและสีย้อมติดเฉพาะภายในเท่านั้นนิวเคลียส แสดงว่า DNAมีอยู่เฉพาะในนิวเคลียส
•พ.ศ.2471 เอฟ กริฟฟิท ( F. Griffth ) ได้ทำการพิสูจน์สารพันธุกรรม เพื่อสนับสนุนว่า DNAเป็นสารพันธุกรรม โดยทำการทดลองเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย Pneumococcus ที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ สายพันธุ์ Rเป็นชนิดที่ไม่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ไม่สร้างแคปซูล กับ S เป็นชนิดที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่ทำให้ตายด้วยความร้อน มีสารบางอย่างที่ไปทำให้แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้เกิดโรค เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคได้และสามารถถ่ายทอดลักษณะนี้ไปสู่ลูกหลาน
•พ.ศ. 2487 โอ.ที. แอเวอรี( O.T. Avery ) ซี. แมคลอยด์ ( C. Macleod )และเอ็ม แมคคาร์ที ( M. Mc Carty) ได้ทำการทดลองคล้ายกับ Griffth เพียงแต่ใช้วิธีสกัด DNAจาก แบคทีเรีย ชนิด Sแล้วนำสารเหล่านี้ใส่รวมกับแบคทีเรียชนิด R ในหลอดทดลอง จากการทดลองของ Averyและคณะทำให้มีการยอมรับว่า DNAคือสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่มีสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มี RNA เป็นสารพันธุกรรม เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ โรคมะเร็งบางชนิด โรคใบด่างในใบยาสูบ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โอ ที แอเวอรี่ และคณะ แสดงให้เห็นว่า DNA เป็นสารที่สามารถเปลี่ยนพันธุกรรมของ แบคทีเรียสายพันธุ์ R ให้เป็น สายพันธุ์ S จึงสรุปว่า DNA เป็นสารพันธุกรรม
แบบฝึกปฏิบัติการ เรื่อง การจำลองโครงสร้างของ DNA
•ชิ้นจุดประสงค์ - 1 นักเรียนสามารถศึกษาอธิบายโครงสร้างของ DNAโดยรูปแบบการจำลองได้สร้างหุ่นจำลอง DNA ด้วยกระดาษเป็นการสร้างหุ่นจำลองที่ใช้วัสดุ ราคาถูก คือใช้กระดาษคล้าย ๆ กับกระดาษปกของสมุดปกอ่อน นักเรียนสามารถจะขึ้นได้เองโดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลยโดยใช้ปกสมุดที่ไม่ใช้แล้ววิธีทำมีดังต่อไปนี้1. ตัดกระดาษตามแบบในภาพให้ได้มาก ๆ (DNA สายหนึ่งควรใช้ไม่น้อยกว่า 20 )
•2. พับกระดาษตามรอยปรุทั้ง 4 ตำแหน่ง ให้มีลักษณะคล้ายชั้นบันได โดยตำแหน่งที่ 1 และตำแหน่งที่ 3 ให้พับลง ส่วนตำแหน่งที่ 2 และตำแหน่งที่ 4 ให้พับขึ้น3 ตัดหลอดดูดกาแฟให้เป็นท่อนยาวประมาณ ครึ่งนิ้ว 20 ท่อน4. ร้อยกระดาษกับหลอดกาแฟที่เตรียมไว้แล้วด้วยเชือกป่านยาวประมาณ 3 ฟุต โดยร้อยสลับกันไปเรื่อย ๆ จะใช้กระดาษชิ้นใดก่อนหลังหรือซ้ำ ๆ กันอย่างไรก็ได้ จนได้สาย ยาวประมาณ 2
•5. ใช้กาวติดเชื่อมระหว่างส่วนที่พับขึ้นและพับลงของกระดาษแต่ละชิ้น โดยให้ ตำแหน่งที่ 1ของชิ้นบน เชื่อมกับตำแหน่งที่ 2 ของชิ้นล่าง และให้ตำแหน่งที่ 3 ของชิ้นบน เชื่อมติดกับตำแหน่งที่ 4 ของชิ้นล่าง เป็นดังนี้เรื่อยไปจนกระดาษทุกชิ้นเชื่อมติดกัน เป็นสายยาวจะได้หุ่นจำลอง DNA ที่ทำด้วยกระดาษ 1 สาย ที่ให้รายละเอียดของแต่ละหน่วยย่อยได้ดีแสดงให้เห็นถึงการจัดเกาะกันของแต่ละอะตอม ถ้านักเรียนได้ดำเนินการประกอบตาม คำแนะนำ โดยตลอดทุกขั้นตอนแล้ว การทำมุมและระยะห่างของช่วงที่บิดเป็นเกลียวแต่ละ ช่วงจะถูกต้องใกล้เคียงความจริงมาก อาจดัดแปลงการสร้างหุ่นจำลอง DNA ด้วยกระดาษนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ เช่น ใช้กระดาษสี ต่างกันในคู่ของเบสต่างชนิดกัน หรือให้นักเรียนระบายสีหน่วยย่อยแต่ละหน่วยให้สีแตกต่าง กันรือสร้างขึ้นโดยไม่ต้องใช้เชือกและหลอดดูดกาแฟเป็นแกนเพื่อที่จะสามารถพับและนำ ไปไหนต่อไหนได้สะดวกขึ้น
สร้างแบบจำลองDNAอย่างง่าย ๆวิธีทำ ตัดเส้น Sugar-Phosphate Backbone A และ B ตัดชิ้น Base-pair “rungs” พับชิ้น Base-pair ดังภาพ ใช้กาวทาขอบสีเทาด้านนอกของชิ้น Base-pair ทั้งด้านซ้ายและขวา ติดชิ้น Base-pair ด้านหนึ่งกับช่องสี่เหลี่ยมใน Sugar-Phosphate Backbone A แล้วติดอีกด้านหนึ่งที่เหลือกับช่องสี่เหลี่ยมใน Sugar-Phosphate Backbone B (เรียงลำดับตามหมายเลข) จะได้แบบจำลองเกรียวคู่ของเส้นDNA ลองเปรียบเทียบแบบจำลองที่สร้างขึ้นกับรูปโครงสร้างของDNA
•โครงสร้างของDNA ประกอบด้วยเส้นโครงลักษณะเกลียวคู่ของน้ำตาลและฟอสเฟต มีเบส 4 ชนิดอยู่ตรงกลาง คือ
•1Thymine (T)
•2 Cytosine ( C)
•3Adenine (A )
•4 Guanine (G)
•ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วย
DNA
•องค์ประกอบทางเคมีของดีเอ็นเอ DNA ประกอบด้วย หน่วยย่อยของ Nucleotides จับกันด้วยพันธะ Phosphodiester Bond และ Nucleotides นี้ประกอบด้วย น้ำตาล Deoxyribose หมู่ฟอสเฟต และเบส (Nitrogenous Base) 4 ชนิด ได้แก่ Guanine (G) , Adenine (A) (Purine - มีวงแหวน 2 วง) Cytosin (C) , Thymine (T)
•แบบจำลองโครงสร้างของ DNAJ.D. Watson
• นักชีววิทยาอเมริกัน & F.H.C. Crick นักฟิสิกส์อังกฤษ เสนอโครงสร้างของ DNA ได้รับ Nobel Prize ตีพิมพ์ผลงานใน Nature ฉบับวันที่ 25 เดือนเมษายน ค.ศ. 1953 1. ประกอบด้วย 2 polynucleotides ยึดกันโดยการจับคู่กันของเบส โดย H-bond 2. ทั้ง 2 สายขนานกันและมีติดทางตรงข้าม (antiparallel)
•3. การจับคู่กันของเบสระหว่าง A - T (2 H-bonds), C - G (3 H-bonds) = complementary basepairs (เบสที่เป็นเบสคู่สมกัน คือ A จับคู่กับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ และGจับคู่กับ C ด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ)
• 4. ทั้ง 2 สายจะพันกันเป็นเกลียวเวียนขวา (right handed double strand helix)5. แต่ละคู่เบสห่างกัน 3.4 อังสตรอม (.34 nm) เอียงทำมุม 36 องศา 1 รอบ = 10 คู่เบส = 34 อังสตรอมเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 อังสตรอม
พันธะไฮโดรเจนตัดเป็นชิ้นๆแล้วพับตามรูป
โครงสร้างของ DNA
•โครงสร้างของ DNA ประกอบด้วยพอลีนิวคลิโอไทด์ 2 สาย พอลีนิวคลีโอไทด์แต่ละสายประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่านิวคลีโอไทด์ มาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว พอลีนิวคลีโอไทด์ทั้ง 2 สาย จะยึดติดกันด้วยพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบส นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยเชื่อมต่อกัน โดยพันธะที่เกิดระหว่างกลุ่มฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์หนึ่งกับคาร์บอนตำแหน่งที่ 3' ของน้ำตาลอีกนิวคลีโอไทด์หนึ่งดังนั้นโครงสร้างสายพอลินิวคลีโอไทด์เป็นการต่อสลับระหว่างกลุ่มฟอสเฟตกับกลุ่มน้ำตาลโดยสายหนึ่งมีทิศทางจากปลาย5'ไปยังปลาย 3' อีกสายหนึ่งจะจับอยู่กับปลาย5'ของสายแรก ดังนั้นเมื่อเกิดการแยกตัวของ DNA ทั้งสองสายส่วนที่แยกออกมาจึงมีทิศทางต่างกัน
การจำลองโมเลกุลของ DNA
การจำลองตัวเองของ DNA มีหลายแบบนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานการเกิดการจำลองตัวเองของ DNA ไว้ ดังนี้ 1. แบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของDNA แล้ว DNAแต่ละโมเลกุลมีพอลินิวคลีโอไทด์ สายเดิมและสายใหม่ ซึ่งเป็นแบบจำลองของวอตสันและคริก 2. แบบอนุรักษ์ (conservative replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNA แล้วพอลินิวคลีโอไทด์ทั้งสองสายไม่แยกจากกันยังเป็นสายเดิม จะได้ DNA โมเลกุลใหม่ที่มีพอลินิวคลีโอไทด์ สายใหม่ทั้งสองสาย 3. แบบกระจัดกระจาย (dispersive replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNAจะได้ DNA ที่เป็นของเดิมและของใหม่ปะปนกันไม่เป็นระเบียบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)